สารเสพติด


สารเสพติด


ยา : หรือสารเคมี หรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วจะติด และต้องเสพอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง มีผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจ เช่น เฮโรอีนโคเคน ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ยาแก้ปวด สุรา.
สถานการณ์เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในปัจจุบัน

ปัญหาการใช้สารเสพติดเป็นปัญหาที่บ่อนทำลายชาติอย่างทั่วโลก การปราบปรามไม่สามารถจะทำลายหรือทำให้เสร็จได้ง่าย เพราะมีผลประโยชน์เกี่ยวพันกันมหาศาลซึ่งปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น
ผลกระทบที่เกิดจากสารเสพติด
1.โทษต่อร่างกาย  สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ  เช่น  ทำให้สมองถูกทำลาย  ความจำเสื่อม  ดวงตาพร่ามั่ว  น้ำหนักลด  ร่างกายซูบผอม  ตาแห้ง  เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ  เครียด  เป็นต้น
2.โทษต่อผู้ใกล้ชิด  ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว  ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3.โทษต่อสังคม  เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม  สูญเสียแรงงาน  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
สถานการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาสารเสพติดในชุมชน
1.สภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติด
2.สถานที่เที่ยวกลางคืน สถานที่เหล่านี้มักมีสารเสพติดมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
3. ปัญหาส่วนตัวได้แก่คนที่ขาดความอบอุ่น มีปัญหาครอบครัวแตกแยก
4. ความอยากทดลอง นับเป็นพฤติกรรมที่ทำให้วัยรุ่นใช้สารเสพติด
5. การใกล้ชิดกับผู้ติดสารเสพติด การคบเพื่อนที่ใช้สารเสพติดทำให้เกิดการเลียนแบบ
6. การขาดความรู้ ผู้ที่ไม่มีความรู้มักจะถูกหลอกให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
7. การไม่ได้รับความสำคัญในครอบครัว
ลักษณะทางจิตที่เสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
1. ปัจจัยด้านร่างกาย จากสถานการณ์เจ็บป่วยทางร่างกาย และใช้ยา
บำบัดรักษา เช่น การใช้มอร์ฟีนแก้ปวดแก่ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด โรคกระดูก
โรคมะเร็ง เป็นต้น จนทำให้เป็นสาเหตุการติดสารเสพติดได้
2. ปัจจัยทางด้านจิตใจ อารมณ์ และบุคลิกภาพ บุคคลที่มีบุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวน อารมณ์อ่อนไหว ขาดความมั่นใจใน
ตนเอง สติปัญญาต่ำ พฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ความคึกคะนอง การเลียนแบบ
3. ปัจจัยด้านครอบครัว จากปัญหาครอบครัว เช่น การขาดความรัก
ความอบอุ่น การเข้มงวด หรือละเลยจนเกินไป ความขัดแย้ง
4. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากฐานะความยากจนของครอบครัวจนเป็นสาเหตุของการต้องกลายเป็นผู้ขาย
และติดสารเสพติดในที่สุด
5. ปัจจัยด้านสังคม เนื่องจากค่านิยมที่ผิดๆ ของตนเอง เช่น
การเป็นที่ยอมรับผูกมิตรกับกลุ่มเพื่อน หรือสังคม
การป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหาและสารเสพติด
1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย
2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็     ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้
4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก
กฎหมายเกี่ยวกับสารเสพติด
1.ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มี 38 รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี

2. ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน   โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา) ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)
3. ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
4.สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ , อาเซติค คลอไรด์
5.ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม
การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด
1.การถอนพิษยา ในระยะถอนพิษยา หรือก่อนกลับไปใช้อีก ผู้ติดยาไม่ต้องใช้เงินในการซื้อยา ก็ย่อมเกิดประโยชน์ ในการลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และลดอาชญากรรม ลงได้
2. การปรับปรุงแก้ไขจิตใจ และบุคลิกภาพ การแก้ไขปรับปรุงจิตใจ สำหรับผู้ติดยาเสพติด นี้ เห็นได้ชัดว่ากระทำได้ลำบากและหวังผลได้ยาก จะต้องใช้เวลานาน และค่อยๆ เปลี่ยน และปรับไปทีละน้อย ต่างคนก็อาจมีปฏิกิริยาและผลแตกต่างกันออกไป
3. การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยว คุมประพฤติ ที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ทำ การตรวจเป็นระยะๆ เพื่อดูว่า กลับไปใช้ยาเสพติดอีกหรือไม่
4. การแก้ไขสภาพแวดล้อม การให้การฝึกอาชีพ การจัดหางาน การสังคมสงเคราะห์ อาจช่วยผู้ติดยาบางคนที่ไม่มีงานทำได้ มีความรู้ความสามารถ ในการทำมาหากิน มีรายได้ เมื่อกลับเข้าไปสู่สังคมอีกครั้งหนึ่ง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น